วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หน่วย"ภูมิปัญญานำพาสู่เศรษฐกิจพอเพียง"

หน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน(SBL)Backward Design
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญานำพาสู่เศรษฐกิจพอเพียง
1. ความคิดรวบยอดหลัก : ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นรากฐานของความรู้หรือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และสร้างสมสืบต่อกันมา สามารถคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม
2. เป้าหมายการเรียนรู้
2.1 ความเข้าใจที่คงทน : มีความรู้ความเข้าใจ ใช้กระบวนกลุ่ม การคิดวิเคราะห์สร้างองค์ความรู้ และการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เกิดความตระหนัก เห็นคุณค่า ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ : ความสนใจในการเรียน ความมีวินัยในตนเอง ความขยันหมั่นเพียรจิตสำนึกที่ดี และมีความรับผิดชอบ

สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
3.มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

4. ตัวชี้วัด
วางแผนกำหนดแนวทางและการมีส่วนร่วมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย

5. จุดประสงค์การเรียนรู้
5.1 มีความรู้ความเข้าใจในภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.2 บอกความสำคัญและคุณค่าในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
5.3 บอกแนวทางการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
5.4 บอกวิธีการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.5 อธิบายและปฏิบัติโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น