วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นข้าวต้มมัดใบมะพร้าว

ภาพแสดงขั้นตอนการทำข้าวต้มมัดใบมะพร้าว




นำข้าวเหนียวที่แช่แล้วมาผสมกับมะพร้าวขูด
ลาว : เอาข่าวเหนียวที่แซ่แล้วมาผสมกับบักพ้าวขูด
ส่วย : แอโดยดีบที่แช่แหลวเจาผสมนะไปลโตงโคด
เขมร : ยัวกอตะเนิบแดลแชเฮยโมปะซมน่องโดง
แดลกอ
English : To mix some strong rice and to grate coconut.

หั่นกล้วยน้ำหว้าเป็นชิ้นตามทางยาว
ลาว : หั่นกล้วยน้ำหว้าเป็นชิ้นตามทางยาว
ส่วย : เจดปรีดน้ำวาเกิดเฉิ่นขรืงขรืง
เขมร : หั่นเจกเตอเกิดชินตามแบบเวย
English : To slice banana became a pieces.


วางกล้วยลงหนึ่งชิ้นแล้วตักข้าวเหนียวลงไปทับอีกครั้งหนึ่ง
ลาว : วางกล้วยลงนึงซิ่นแลวตักข่าวเหนียวลงอีกซั่นนึง
ส่วย : เซอปรีดแซงหมูยชินแหลวเอ๊าะโดดยดีบแซงจีเถิน
หมูยฉัน
เขมร : ดะเจกโต๊วมาชิน ร๊วยโด๊ยกอตะเนิบเตยมาจื้น
English : lay down a piece of banana as dip up strong rice
into vessel again

มัดด้วยเชือกฟาง โดยทิ้งหางไว้ยาวประมาณหนึ่งฟุต
ลาว : มัดนำปอฟาง ปล่อยหางใบบักพ้าวไว้ประมาณ 1 ฟุต
ส่วย : ซัดไซ แหลวต่ะซอยคลาโตงดั๊วประมาณหมูยฟุต
เขมร : ร๊วยโด๊ยกะแซ แตปลอยตะกุยโดงประมาณมาฟุต
English : a bundle by a cord to let the tail coconut leaves
about a foot.


มัดข้าวต้มรวมกันเป็นพวงๆประมาณ4-5อันแล้วเอาไปต้ม
ลาว : มัดข่าวต้มรวมกันเป้นพวงๆประมาณ4-5อันแล้วเอาไปต้ม
ส่วย : ซัดอาซอมหรวมถัวเกิดพวงๆประมาณอาปอนเตาะ
อาซองแหลวแอจีอ๊บ
เขมร : จองซอมรวมคเนียเกิจโกมๆประมาณ บูลเดลปรัมแลว
รูยยัวโตวสโงน
English : A bundle rice gruel bundle together became bunched about
4-5pieces then bring to boil


ภาพรวม


เจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน
นางประชุม นึกดี
บ้านโคกพยอม หมู่18 ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นการสานสุ่มไก่

เชิญชวนทุกท่านที่สนใจมาดูภูมิปัญญาและวิธีการสานสุ่มไก่




ขั้นตอนแรกเริ่ม

หาไม้ไผ่ขนาดที่พอดีไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป






ขั้นตอนการสานสุ่มไก่
ขั้นที่ 1
ภาษาไทย : ผ่าลำไผ่ออกเป็นเส้นๆ
ภาษาเขมร : บุระไสออยเกิดเซ็นๆ
ภาษาลาว : ผ่าไม่ไผ่ที่เป็นลำออกเป็นเส่นๆ
ภาษาส่วย : ปาลองเกาะเลาะเกิดเซ็นๆ
ภาษาอังกฤษ : Split bamboo into fiber aircraft




ขั้นที่ 2
ภาษาไทย : เหลาตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน ความกว้างของตอก แต่ละแบบโดยประมาณ ตอกยืน 1.3-1.7 เซนติเมตร ตอกยาว 0.8 เซนติเมตรและ ตอกไผ่ตีน 1.6-2.0 เซนติเมตร
ภาษาเขมร : เบ็ดตอกเว้นระไส ออยเกิดตอกชวร ตอกเองแนะเกอะ ตอกระไสจืง ความกวางคอตอกแต่ละแบบ โดยประมาณ ตอกชวร เกอะ 1.3-1.7 เซนติเมตรตอกเวงเกอะ 0.8 เซนติเมตรแนะ เกอะตอกระไสจืง 1.6-2.0 เซนติเมตร
ภาษาลาว : เหลาตอกไผ่ที่สิเฮ็ดเป็นโครงสุ่ม ตอกยาวเป็นเส้นน้อยๆตอกตีนแบนๆ ความก้วงแต่ละอย่างพอประมาณแล้วแต่บทบาท ตอกโครงสุ่มก้วง 1.3-1.7 เซนติเมตร ตอกยาว 0.8 เซนติเมตรตอกตีนไผ่ 1.9-2.0 เซนติเมตร
ภาษาส่วย : แจ๊ะเกาะฮ็องสะยึง ฮ็องอะหรืง แล้วเกาะฮ็อง กะตอบ วันผืด ถัย ดอ ฮ็องสะยึง1.3 -1.7 เซ็น ฮ็องอะหรืง 0.8 เซ็น อ็องกะดอบ1.6 -2.0 เซ็น
ภาษาอังกฤษ : Know as a strike strike line bamboo stands , bamboo foot strike length and width of the wedge with a wedge of approximately 1.3-1.7 cm long. Chisel and hammer bamboo foot long 1.6-2.0 cm




ขั้นที่ 3
ภาษาไทย : ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อ
ไม่ให้สุ่มขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
ภาษาเขมร : ซวนแดลเกิดทนังยัวโมเบ้ดออยเกิดตะขอยึดกะบาลรุดมะออยเวียอึงกึ
ตอนเลิงรูป
ภาษาลาว : ส่วนที่เป็นข้อไผ่เอามาเหลาเป็นตะขอไผ่ เพื่อบ่ให้สุ่มโยกเลื่อนตอน
สาน
ภาษาส่วย :บอนมัดเกาะแอเจาแจ๊ะอันเกิดบะนะตะคอ
ภาษาอังกฤษ : Bamboo is a part of the Lao hooked bamboo take any Soom head. Not to move at Soom to build.




ขั้นที่ 4
ภาษาไทย : เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
ภาษาเขมร : เริมปีสานตอกเวงนองตอกชวร เกิดกะบาลรุดแบบลายขัด
ภาษาลาว : เริ่มจากสานตอกยาวกับตอกโครงกันหัวสุ่มแบบลายขัด
ภาษาส่วย :เริมตะแตงเซนอะหรืงนะซ็นตังอันแผลดดอเกิดปลอกะฉุม
ภาษาอังกฤษ : Start by building long strike and strike Soom standing a head Lai Khad.




ขั้นที่ 5
ภาษาไทย : ขุดหลุมตอกหลัก มัดข้อไผ่กับหลักมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้างเพื่อยึดสุ่มไก่การสานขึ้นรูป
ภาษาเขมร : จิดุง ด็อมละ จองระไส นองละยึดกะบาลรุดสือไดย เพือ ออย รุดสาน เลิงรูป
ภาษาลาว : ขุดหลุมตอกหลัก มัดข่อวงไผ่กับหลักหมุดที่ตอกเพื่อตึงโครงสุ่มให้ขึ้นรูป
ภาษาส่วย : เป็กปรงเจาะลักแล้วเกอะซัดเกอะนะลักทีเจาะดัวะปองกะแต๊ะ เพือ แร้ดกะแมหรอย ดัวะ เวลาเซาะโรป
ภาษาอังกฤษ : Hammer drill core holes. Belay any major duck with bamboo holder Soom head on the ground square to hold Soom.Kai to continue foeming.




ขั้นที่ 6
ภาษาไทย : ใช้ตอกยาวสานรอบๆสุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง โดยจุดเริ่มต้น
ของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆเพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปวงกลม
ภาษาเขมร : เปรอตอกเวงสานรอบๆรุตออยเลิงรูปแบบลายมูยโดยจุดเริมเปลี่ยน
เรือยๆออยรูดกิดวงกลม
ภาษาลาว : ไซ่ตอกยาวสานอ้อมสุ่มขึ้นโครงแบบลายหนึ่งโดยให้จุดเริ่มต้นของ
ตอกยาวแต่ละเส้นเปี่ยนหม่องไปเรื่อยๆเพื่อสุ่มไก่ได้รูปวงกลม
ภาษาส่วย : แอฮ็องอะหรืงรอบๆกะแมหรวยเซาะลายมวยเซ็นเริ่มตะปลงฮ็องอะหรืงแตละเซ็นสะลับ
ตอจีเลยๆ อันกะฉุ่มเกิดโรปวงกลม
ภาษาอังกฤษ : TOk Yaw around the building to the Soom Kai form a pattern. The beginning of the strike length of each line be moved.




ขั้นที่ 7
ภาษาไทย : ได้สุ่มไก่ที่สามารถนำไปจำหน่ายได้
ภาษาเขมร : บานรุตแดลนังยัวโตลัวะเฮย
ภาษาลาว : ได้สุ่มไก่ที่เอานำไปขายต่อได้
ภาษาส่วย : ปืนกะฉุมทีจิงดัวะแอจีแต๊กปืนแลว
ภาษาอังกฤษ : Soom Kai has to be sold.

โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำไม้กวาดทางมะพร้าว

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น














โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนขณะนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วประมาณ 10 โครงงาน เช่น การทำขนมเนียล การทำแกงหยวกกล้วย การทอเสื่อกก การสานพัดจากกก การทำขนมลอมเกี๊ยะ(ขนมเปียกปูน) มีรูปภาพประกอบด้วยยอดเยี่ยมมาก

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หน่วย"ภูมิปัญญานำพาสู่เศรษฐกิจพอเพียง"

หน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน(SBL)Backward Design
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญานำพาสู่เศรษฐกิจพอเพียง
1. ความคิดรวบยอดหลัก : ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นรากฐานของความรู้หรือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และสร้างสมสืบต่อกันมา สามารถคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม
2. เป้าหมายการเรียนรู้
2.1 ความเข้าใจที่คงทน : มีความรู้ความเข้าใจ ใช้กระบวนกลุ่ม การคิดวิเคราะห์สร้างองค์ความรู้ และการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เกิดความตระหนัก เห็นคุณค่า ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ : ความสนใจในการเรียน ความมีวินัยในตนเอง ความขยันหมั่นเพียรจิตสำนึกที่ดี และมีความรับผิดชอบ

สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
3.มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

4. ตัวชี้วัด
วางแผนกำหนดแนวทางและการมีส่วนร่วมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย

5. จุดประสงค์การเรียนรู้
5.1 มีความรู้ความเข้าใจในภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.2 บอกความสำคัญและคุณค่าในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
5.3 บอกแนวทางการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
5.4 บอกวิธีการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.5 อธิบายและปฏิบัติโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การศึกษาแหล่งเรียนรู้














คณะครูโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย ได้ไปศึกษาดูงานโครงการพระราชดำริอ่าวคุ้งกระเบนที่ จังหวัดจันทบุรี การศึกษาครั้งนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน และที่โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์
เราได้เห็นการขับเคล่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาได้อย่างดีเยี่ยม เช่น
การจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเส่อจันทบูรของนักเรียน แล้วประยุกต์เป็นกระเป๋า ที่รองจาน ที่รองแก้ว สวนเกษตรที่ฝึกนักเรียนในการปฏิบัติจริง ซึ่งโรงเรียนนี้เป็นการจัดการศึกษาเอกชนและส่วนใหญ่นับถือคริสตศาสนา ขอชื่นชมในผลงานและผลผลิตที่เกิดจากความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการนำแนวพระราชดำริมุ่งสู่การปฏิบัติ ถือเป็นแบบอย่างที่ดีมาก
ขอชื่นชม..... ขอชื่นชม......